การดูแลสุขภาพ ดวยจากการรับประทานอาหาร

                การดูแลสุขภาพ ดวยจากการรับประทานอาหาร



สาเหตุของการเกิดโรค NCDs

• พฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป การ บริโภคอาหาร มัน อาหารทอด และของหวานมากเกินไป

• พฤติกรรมที่ขาดการเคลื่อนไหว ใช้เวลาอยู่กับโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตมากเกินไป และขาดการออกกำลังกาย

• ภาวะเครียดทั้งจากเรื่องเงิน การทำงาน ปัญหาครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่มีแต่ความตึงเครียด รวมทั้งมลภาวะต่างๆ

กลุ่มเนื้อสัตว์


ควรกินเนื้อไก่ เนื้อปลา และอาหารทะเล โดยเฉพาะอาหารที่มีโอเมก้า 3 
เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาจะละเม็ดขาว ปลาสำลี ปลากะพงขาว ปลาทู ปลาดุก ปลาสวาย ปลาช่อน ปลาตะเพียน โดยในกลุ่มปลาควรรับประทานอย่างน้อย 2-3 วันต่อสัปดาห์

รวมทั้งเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ ร่วมด้วยเพราะเป็นโปรตีนจากถั่วเหลือง มีส่วนช่วยใน การลดไขมัน ที่ไม่ดีในเลือดได้ และหลีกเลี่ยงการกินเนื้อแดงที่ผ่านการแปรรูปต่างๆ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน หมูยอ แหนม
 

ไขมัน

หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว เพราะจะเพิ่มไขมัน
ไม่ดี  LDL-cholesterol และไขมันทรานส์ ยังไปลดไขมันดี 

HDL-cholesterol อีกด้วย ซึ่งจะส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการเสียหาย 
จึงควรเลือกกินไขมันที่ดีอย่างน้ำมันมะกอก และน้ำมันรำข้าว นอกจากนี้เลือกรับประทานถั่วเปลือกแข็ง ร่วมด้วยประมาณ 30 กรัมหรือ 1 อุ้งมือ เพราะมีกรดไขมันที่ดี ช่วยลดไขมันในเลือดได้ เช่น ถั่วลิสง 

แมคคาเดเมีย อัลมอนด์ พิสตาชิโอ แต่อย่างไรก็ตามอาหารในกลุ่มไขมันควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมเพราะถ้ารับประทานมากเกินไปก็จะทำให้ได้รับพลังงานเกินจากที่ร่างกายต้องการ

หลักการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

• เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น อาหารที่มีโอเมก้า 3 เช่น แซลมอน ปลาทู ปลาจะละเม็ด ผลิตภัณฑ์จากเต้าหู้ ถั่วเปลือกแข็ง ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ นมจืดพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย และธัญพืชต่างๆ
• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ เพราะเป็นต้นกำเนิดไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกาย
• กินผักและผลไม้เป็นประจำ
• หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
• ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
• ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สูตรเด็ดกุ้งนึ่งกระเทียมโทน

กินปลาเมนูปลาน้ำโขงต้มแซ่บปลาคัง

ส้มตำถาดแซลมอน