รู้แล้วต้องอึ้ง!! เครื่องดื่มยอดฮิตกับปริมาณน้ำตาลที่ซ่อนอยู่
เคยกินอะไรตามใจปาก กินอะไรตามใจสั่ง สุดท้ายก็มาบ่นกับตัวเองว่าอ้วน…อ้วน…อ้วน
จริงๆ หากฉุกคิดสักนิด “รู้ก่อนซื้อ ไตร่ตรองก่อนกิน” สุขภาพร่างกายน่าจะดีกว่านี้ เพราะอย่างน้อยๆ ก็สามารถหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นสาเหตุได้
ส่วนจะรู้ก่อนซื้อได้อย่างไร พาไปดูนิทรรศการและฟังคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ บาคาร่า ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตั้งอยู่ที่ซอยวัฒนโยธิน แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
เปิดประตูเข้าไปที่มูลนิธิ เพียงก้าวแรกหันไปก็เห็นนิทรรศการแล้ว เดินเข้าไปใกล้ๆ นั้นชาเขียวที่ใช่ นี่น้ำอัดลมที่ชอบ แต่เอ๊ะ!! ถุงเล็กๆ ด้านหน้านี่คือน้ำตาลที่เราต้องกินจากการบริโภคเครื่องดื่มนี่เหรอ ช็อกเลย!!
ยิ่งเมื่อดูเครื่องดื่มต่างๆ กับปริมาณน้ำตาล ชั้นแล้วชั้นเล่ายิ่งเข้าใจ ทำไมคนไทยเป็นโรคเบาหวานกันมาก
จากข้อมูลที่ระบุว่ามีคนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวาน 4.7 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั่วประเทศ หรือ 7 เปอร์เซ็นต์ พบมากสุดในกลุ่มอายุ 40-60 ปี ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 4 โดยในทุกๆ 8 วินาที จะมีคนเสียชีวิตจากโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อน ส่วนโรคเบาหวานในเด็กก็มีแนวโน้มมากขึ้น
หลังจากจดจ่อกับนิทรรศการอยู่นาน มีโอกาสได้พูดคุยกับ “พชร แกล้วกล้า” ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซึ่งรับผิดชอบนิทรรศการว่า นิทรรศการนี้จัดแสดงมาสักพักหนึ่งแล้ว เพื่อให้ประชาชนมาเรียนรู้และตระหนักถึงการบริโภคเครื่องดื่มกับสิ่งที่จะได้ โดยมี 1.เครื่องดื่มที่ให้พลังให้ไขมันสูง 2.เครื่องดื่มที่ไม่มีไขมันแต่มีน้ำตาลสูง 3.เครื่องดื่มที่ไม่มีไขมันเลยแต่มีสารแทนน้ำตาลสูง
“ในประเด็นเครื่องดื่มเรากังวลเรื่องน้ำตาล เพราะใน 1 วัน เราไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม แต่จากปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในขวดเครื่องดื่มที่เห็น จะพบว่าเครื่องดื่มบางชนิดเพียง 1 ขวดก็เกินปริมาณความต้องการน้ำตาลของร่างกายต่อวันแล้ว นี่ยังไม่รวมกับการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอีก”
“น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง เมื่อไม่ได้ใช้งานหรือบริโภคเกิน จะแปรสภาพเป็นไขมันสะสมทำให้เกิดโรคอ้วน และยังส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคมะเร็ง เป็นต้น”
ฉะนั้น สิ่งที่ดีที่สุด คือ “เลือกกิน” ซึ่งทำได้โดย “อ่านฉลาก”
พชรเล่าถึงความสำคัญของฉลากว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหารเครื่องดื่มต้องมีฉลาก ปัจจุบันฉลากมีทั้งด้านหน้าและด้านหลังของผลิตภัณฑ์ เริ่มที่ฉลากด้านหลังจะระบุ ‘ข้อมูลโภชนาการ‘ ให้ดูรายการสารอาหารต่างๆ
โดยให้ดู “ปริมาณน้ำตาล ปริมาณไขมัน ปริมาณโซเดียม” เป็นหลัก ดูเป็นราย “กรัม” หรือ “มิลลิกรัม” กับความต้องการของร่างกายแต่ละวัน เช่น ร่างกายไม่ควรได้รับปริมาณไขมันอิ่มตัวเกิน 20 กรัมต่อวัน ไม่ควรได้รับปริมาณโซเดียมเกิน 23 กรัมต่อวัน ส่วนฉลากด้านหน้า เพียงนำฉลากด้านหลังมาใส่ ระบุเฉพาะที่สำคัญ ได้แก่ พลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม
“จะกินอะไรอย่างหนึ่งสิ่งแรกคือ ต้อง “อ่านฉลาก” ดูว่าสิ่งที่เราจะกินว่าใช่กับสิ่งที่เราอยากกินหรือเปล่า หากมีเวลาแนะนำให้นำผลิตภัณฑ์ประเภทและขนาดเดียวเดียวกัน แต่คนละยี่ห้อมาเปรียบเทียบด้วย เพราะบางครั้งจะพบฉลากเขียนผิด บางฉลากด้านหน้าไม่ตรงกับฉลากด้านหลัง”
“ขณะที่ฉลากส่วนใหญ่ไม่ได้ส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้รู้ข้อมูลผลิตภัณฑ์เท่าที่ควร คือแม้มีข้อมูลโภชนาการตามระเบียบ อย. แต่ข้อมูลนั้นกลับเขียนไม่รู้เรื่อง โดยเฉพาะการบอกปริมาณส่วนผสมเป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งแน่นอนคนทั่วไปไม่รู้หรอก ถัดมาคือเขียนตัวเล็ก ไม่ก็หลบๆ ซ่อนๆ ในมุมอับของผลิตภัณฑ์”
“ซึ่งลำพังก็มีปัญหาคนไทยไม่อ่านฉลากอยู่แล้ว ส่วนคนที่อ่านจะต้องมาอ่านไม่รู้เรื่องอีก”
จากเหตุผลดังกล่าว มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงรณรงค์แคมเปญให้มี “ฉลากสัญญาณไฟจราจร”
“ฉลากสัญญาณไฟจราจร นำต้นแบบจากประเทศอังกฤษที่ฉลากด้านหน้าผลิตภัณฑ์มีคำระบุปริมาณว่า ต่ำ กลาง สูง”
“แต่ของเรามากกว่านั้นคือ มีรูปใบหน้ากับสี ได้แก่ ใบหน้ายิ้มสีเขียวคือ ปริมาณสารอาหารที่ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ สามารถรับประทานได้, ใบหน้าธรรมดาสีเหลือง ปริมาณสารอาหารที่ค่อนข้างสูง สามารถรับประทานได้แต่ควรรับประทานแต่น้อย และใบหน้าบึ้งสีแดง ปริมาณสารอาหารที่สูง ควรหลีกเลี่ยงในการรับประทาน ซึ่งทำให้ผู้บริโภคได้เข้าใจฉลากมากขึ้น เด็กๆ ก็เข้าใจได้ เพื่อรู้เลือกรับประทานอาหารที่จะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของตัวเอง” พชรกล่าวทิ้งท้าย และฝากร่วมรณรงค์แคมเปญฉลากสัญญาณไฟจราจร
ซึ่งเขายอมรับว่า “คนยังรู้ และเข้าใจน้อยมาก” ผ่านแคมเปญ “หยุด!!! โรคอ้วนในเด็กไทย ด้วยฉลากไฟจราจร” ทางเว็บไซต์เชนจ์ ดอท โออาร์จี
ขอบคุณแหล่งที่มา www.sanook.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น