โภชนาการในชีวิตประจำวัน



ความสำคัญของโภชนาการ

      อาหาร ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 คือ ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ทั้งนี้ไม่รวมยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ยาเสพติดให้โทษ เมื่อรับเข้าสู่ร่างกาย (ไม่ว่าจะเป็นการดื่ม การกิน หรือการฉีด ฯลฯ) แล้วเกิดประโยชน์แก่ร่างกาย โดยให้ บาคาร่า สารอาหาร อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

     สารอาหาร คือ สารเคมีที่ประกอบอยู่ในอาหาร ประโยชน์ของอาหารที่เราบริโภคขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนของสารอาหารที่เป็นส่วนประกอบของอาหารนั้น สารอาหารที่ร่างกายต้องการแบ่งออกเป็น 6 พวกใหญ่ๆ คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำ สารอาหารแต่ละพวกทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
  1. ให้พลังงานและความร้อน ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของอวัยวะภายในและ นอกร่างกาย
  2. ช่วยบำรุงเลี้ยงหรือช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต (ในเด็ก) และช่วยซ่อมแซมร่างกาย (ในผู้ใหญ่)
  3. ช่วยควบคุมปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ในร่างกาย และการทำงานของอวัยวะทุกส่วน
  4. ช่วยในการป้องกันและต้านทานโรค หรือช่วยให้ร่างกายแข็งแรง

ความหมายของโภชนาการ
     โภชนาการ เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของอาหารที่เข้าไปในร่างกาย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอันเกิดจากกระบวนการที่สารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ เนื้อเยื่อ และควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย

     วิชาโภชนาการเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะของการบริโภค (Science and Art of Feeding) มิได้มุ่งเพียงจัดอาหารที่มีรสดี ปรุงแต่งประณีตและราคาย่อมเยามาบริโภคเท่านั้น แต่ยังรู้จักเลือกเฟ้นและปรุงแต่งอาหารให้มีคุณค่าสูง ไม่มีโทษแก่ร่างกาย เพื่อร่างกายจะได้ใช้ประโยชน์ในการเสริมสร้างอนามัยได้มากที่สุด นอกจากวิชาโภชนาการจะอาศัยหลักวิชาการอื่น ๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว วิชาโภชนาการปัจจุบัน (Modern Nutrition) ยังอาศัยหลักพุทธศาสนาอีกด้วย สารอาหารบางอย่างรับประทานน้อยเกินไปทำให้เกิดโรคขาดอาหารบางอย่างรับประทานมากเกินไปทำให้เกิดทุกข์เกิดโทษหรือเกิดโรคอื่นๆแก่ร่างกายเช่นเดียวกัน

ความสัมพันธ์ระหว่างโภชนาการกับสุขภาพ
     “อาหารคือตัวเรา” You are what you eat คำกล่าวนี้เป็นจริงเสมอมา เพราะสิ่งต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรานั้น ล้วนมาจากอาหารที่เรากินเข้าไป เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ จนกระทั่งคลอดออกเป็นทารก เด็ก เติบโตเป็นผู้ใหญ่ จนถึงวัยผู้สูงอายุ เราต้องกินอาหารทุกวัน เพราะอาหารไม่เพียงแต่จะนำไปประกอบเป็นส่วนต่างๆของร่างกายเท่านั้น แต่ยังทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข หรือมีภาวะโภชนาการที่ดี แต่ถ้าหากกินอาหารไม่ถูกต้อง เพียงพอ ก็จะทำให้เกิดปัญหาโภชนาการได้

     ตามคำจำกัดความขององค์กรอนามัยโลกคำว่า “สุขภาพ” หมายถึง สุขภาวะ (Well being) ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ใจ จิตวิญญาณ สามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข

     “สุขภาพกาย” หมายถึง ความแข็งเเรงของร่างกาย หรือการปราศจากความเจ็บป่วยของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย บุคคลที่มีสุขภาพกายดีคือบุคคลที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ และไม่เป็น “พาหะ” ของโรค หรือไม่มีเชื้อโรคซ่อนอยู่ซึ่งจะติดต่อเผยแพร่ไปยังผู้อื่นได้

     “สุขภาพใจ สุขภาพจิต” หมายถึง การมีเสถียรภาพหรือความมั่นคงทางอารมณ์ และสามารถในการปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้มีสุขภาพจิตดีจะต้องเป็นผู้ที่ยอมรับความจริง รู้จักแก้ปัญหา และมองเห็นการณ์ไกล

     “สุขภาพสังคม” หมายถึง ความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโดยมีปัญหาน้อยที่สุด

โภชนาการเป็นรากฐานของสุขภาพ
โภชนาการที่ดีมีผลต่อสุขภาพดังนี้

  1. ผลทางร่างกาย ได้แก่ขนาดของร่างกาย การมีครรภ์และสุขภาพของทารก ความสามารถในการต้านทานโรค ความมีอายุยืน
สรุปได้ว่า โภชนาการที่ดีมีผลต่อสุขภาพกาย คือ
   • ร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่
   • มีกำลังแรงงานมากกว่าผู้ที่กินอยู่ไม่ถูกต้อง
   • ร่างกายแข็งแรง มีความต้านทานโรคสูง
   • ไม่แก่ก่อนวัยและอายุยืน
   • มารดาและทารกในครรภ์แข็งแรง

  2. ผลทางอารมณ์และสติปัญญา ผลงานทางวิทยาศาสตร์หลายแห่งเเสดงให้เห็นว่า พัฒนาการทางสมองของมนุษย์นั้นจะเกิดขึ้นเต็มที่ต้องอาศัยภาวะโภชนาการหรืออาหารที่กินด้วย มีผู้รายงานสอดคล้องกันว่าเด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีนนั้น เมื่อรักษาด้วยการให้อาหารโปรตีนคุณภาพดีในปริมาณสูง อาการเจ็บป่วยทางกายจะหายไปและกลับสู่สภาพปกติ แต่พัฒนาการทางสมองของเด็กเหล่านั้นไม่อาจแก้ไขให้กลับสู่สภาพเดิมเหมือนเด็กปกติได้ โดยเฉพาะขณะที่สมองกำลังเติบโตรวดเร็วกว่าวัยอื่น นอกจากนี้ยังมีผู้รายงานว่า การขาดกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายจะทำให้พัฒนาการทางสมองของทารกและเด็กหยุดชะงัก แต่ผลที่เกิดขึ้นนั้นรุนแรงน้อยกว่าการขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นแก่ร่างกายหรือโปรตีนคุณภาพสมบูรณ์

  3. ประสิทธิภาพในการทำงาน โภชนาการที่ดีมีส่วนให้จิตใจแข็งแรง มีความมั่นคงในอารมณ์ ไม่เหนื่อยหรือท้อแท้ง่าย มีความแจ่มใสและกระตือรือร้นในชีวิต ปรับตนเข้ากับสังคมหรือสิ่งแวดล้อมได้ง่ายและมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ (Maturity) เจริญเร็วกว่าผู้ที่มีภาวะทางโภชนาการไม่ดี และมีผลต่อการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบคุณแหล่งที่มา  www.human.cmu.ac.th

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สูตรเด็ดกุ้งนึ่งกระเทียมโทน

ส้มตำถาดแซลมอน

เมี่ยงสดเวียดนาม อาหารคลีน มีส่วนผสมของผักนานาชนิด